คดีรับรองบุตร

A018
สี:
ขนาด:
ไม่ระบุไซต์
จำนวนซื้อ :

ขั้นตอนการยื่นคำร้องจดทะเบียนรับรองบุตรต่อศาล
บุตรที่เกิดจากหญิงที่มิได้จดทะเบียนสมรสกับชาย บุตรนั้นเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายหญิงแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์1546) ซึ่งทำให้บุตรเป็นบุตรนอกสมรสแม้ในใบสูติบัตรของบุตรระบุว่าชื่อ-สกุล บิดาก็ไม่ถือเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายแต่ประการใดการที่จะให้บุตรนอกสมรสเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดามีอยู่ 3 วิธี (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1547) ได้แก่
1.เมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง
2.เมื่อบิดาได้จดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตร (ในขณะที่บุตรและมารดาบุตรให้ความยินยอมได้) การรับรองบุตร เป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้บุตรนอกสมรสเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาในบางกรณีบิดาและมารดาบุตรไม่ประสงค์ที่จะจดทะเบียนสมรสกัน แต่ประสงค์ที่จะให้ตนเป็นบิดาของบุตรโดยชอบด้วยกฏหมายเท่านั้น ทั้งนี้ บิดาสามารถจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรของตนได้ แต่กฎหมายกำหนดเงื่อนไขในการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรต้องได้รับความยินยอมจากเด็กและมารดาของเด็ก โดยเด็กและมารดาต้องไปให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียนหากบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือทั้งสองไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น มารดาถึงแก่ความตาย หรือเด็กไม่อาจแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ เช่น อายุยังน้อยเกินไปไม่สามารถเข้าใจได้ การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรจึงต้องมีคำพิพากษาของศาล (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1548) โดยผู้ร้อง (บิดา) เป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลหรือมารดายื่นคำฟ้องขอให้บิดารับรองบุตรต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล หรือต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล

เอกสารที่ใช้ในการยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร
1.บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (บิดา) และมารดา พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
2.ทะเบียนบ้านผู้ร้อง มารดา และบุตร ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
3.สูติบัตรบุตร ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
4.ใบมรณบัตรมารดา (กรณีมารดาเสียชีวิต) ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
5.หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล ของผู้ร้อง มารดา หรือบุตร (ถ้ามี) ฉบับจริงพร้อมสำเนา 1 ฉบับ
6.ใบสำคัญการหย่าของมารดา ฉบับจริง พร้อมสำเนา 1 ฉบับ (กรณีมารดาเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน)

รายการที่เกี่ยวข้อง